ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ   ได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง เมื่อวันที่  7  พฤศจิกายน  2522  ก่อตั้งโดย ดร.กมล  ชูทรัพย์   สืบเนื่องด้วยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.)  ประเภทวิชาพาณิชยกรรมมีความต้องการที่จะศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีจำนวนมาก   ในขณะนั้น สถานศึกษาของรัฐบาลไม่สามารถสนองความต้องการได้พอเพียงการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อได้จำนวนจำกัด ประกอบกับมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง หน่วยงานและสถานประกอบการมีความต้องการบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับปวส.เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการพัฒนาบ้านเมืองทางด้านพณิชยกรรมและอุตสาหกรรม

ดังนั้น ดร.กมล  ชูทรัพย์ ได้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจขึ้น  ซึ่งเป็นวิทยาลัยเอกชนกลุ่มแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ในระดับ ปวส. เป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งของสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร โดยมีพัฒนาการเติบโต ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ดังนี้

ปีการศึกษา 2522  มีอาคารเรียน  3 ชั้น  1 หลัง  มีพื้นที่  3 ไร่ 2 งาน 62  ตารางวา ปีการศึกษา 2522 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนคณะบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตร ปีการศึกษา 2540 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ในสาขาวิชา การบัญชี และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ดำเนินการสอนเป็นภาษาอังกฤษทุกรายวิชา โดยอาจารย์ชาวต่างชาติผู้เป็นเจ้าของภาษา เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาภาษาอังกฤษมากขึ้น และมีโอกาสดีขึ้นในการเข้าสู่ตลาดงานในยุคโลกาภิวัตน์ ในช่วงต้นปีการศึกษา 2540 ได้เปิด “ศูนย์ภาษาอังกฤษ” WIMOL ENGLISH LANGUAGE CENTRE (WELC) ขึ้นเพื่อให้บริการการสอนและ การอบรมด้านภาษาอังกฤษแก่นักศึกษาและผู้สนใจ ปัจจุบันได้ให้การบริการสอนภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาที่เรียนในภาคภาษาไทย สัปดาห์ละ 1 คาบ โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมพิเศษ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาทุกคนอย่างต่อเนื่อง
วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 3 แผนก ดังนี้
1.แผนกวิชาการบัญชี 2.แผนกวิชาการตลาด 3.แผนกวิชาการเลขานุการ
ปีการศึกษา 2525 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน คณะบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 4 แผนก ดังนี้
1.แผนกวิชาการจัดการ 2.แผนกวิชาการเงินการธนาคาร 3.แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 4.แผนกวิชาการโฆษณา
ปีการศึกษา2526 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 1 แผนก ดังนี้
1.แผนกภาษาต่างประเทศ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชา ภาษาธุรกิจ) และเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา
ปีการศึกษา 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ประกอบด้วย 8 แผนก ดังนี้
วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 8 แผนก ดังนี้
1.แผนกวิชาการตลาด 2.แผนกวิชาการบัญชี 3.แผนกวิชาการเลขานุการ 4.แผนกวิชาการเงินการธนาคาร
5.แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 6.แผนกวิชาการจัดการ 7.แผนกวิชาภาษาต่างประเทศ 8.แผนกวิชาการโฆษณา
ปีการศึกษา 2527 ได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีก 2 สาขา ดังนี้
วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 2 แผนก ดังนี้
1.สาขาวิขาการท่องเที่ยว 2.สาขาวิชาการโรงแรม
ปีการศึกษา 2533 กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้วิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตร ปวท.(ประกาศนียบัตร วิชาชีพเทคนิค) รวม 5 สาขาวิชา ดังนี้
วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 2 แผนก ดังนี้
1.สาขาวิชาการตลาด 2.สาขาวิชาการบัญชี 3.สาขาวิชาการเลขานุการ
4.สาขาวิชาการเงินการธนาคาร 5.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ปีการศึกษา 2536 กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) เข้า ศึกษาต่อระดับ ปวส. หลักสูตร ปวท. ปีการศึกษา 2537 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ ได้ร่วมกับวิทยาลัยในเครือตั้งตรงจิตรพณิชยการ ก่อตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์วิทยาลัยในเครือตั้งตรงจิตรพณิชยการ จำกัด โดยจดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ และมีสำนักงานอยู่ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ครู-อาจารย์และพนักงานที่เป็นสมาชิกได้ออมทรัพย์ และช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในการให้เงินกู้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อมีเหตุจำเป็น ปีการศึกษา 2538 ได้จัดตั้งหน่วยงานให้บริการอินเตอร์เน็ตขึ้นใหม่ ใช้ชื่อว่า “KSC-WIMOL Internet Branch” โดยได้ทำสัญญาความร่วมมือกับบริษัท เค เอส ซี คอมเน็ต จำกัด เพื่อให้คำแนะนำและอบรมบุคลากรในด้านเทคนิคการต่อเชื่อมสัญญาณจากต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นวิทยาลัยสามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่นักเรียนนักศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันสมัยและมีระบบการให้บริการข่าวสารข้อมูลที่รวดเร็วและกว้างไกล เป็นการเปิดโลกทัศน์ของนักศึกษาและอาจารย์ให้มีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น ปีการศึกษา 2539 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ 6 ชั้น อีก 1 หลัง เพื่อรองรับนักศึกษาที่มีปริมาณความต้องการเข้าศึกษาต่ออีกเป็นจำนวนมาก แล้วเสร็จเปิดใช้งานได้ใน ปีการศึกษา 2540 และโรงเรียน ได้ร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน The Bournemouth and Poole College เมือง Bournemouth ประเทศอังกฤษ เปิดหลักสูตร Diploma ที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ เรียกว่า International Programme ใช้หลักสูตรของสถาบัน The Bournemouth and Poole College ควบคู่กับหลักสูตรภาคภาษาไทย (Bilingual program) 2 สาขาวิชา คือ Business และ Computer ใช้เวลาศึกษา 2 ปี (ปวส.) สามารถนำไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงได้เซ็นสัญญาร่วมมือแลกเปลี่ยน นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาใน สาขาวิชาการโรงแรม การท่องเที่ยว และ ภาษาอังกฤษ กับ WAIARIKI INSTITUTE OF TECHNOLOGY เมืองโรโตรัว ประเทศนิวซีแลนด์ รวมเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ปีการศึกษา 2542 วิทยาลัยได้รับอนุญาตเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของกรมอาชีวศึกษา พ.ศ.2538
โดยรับนักเรียนที่จบ ม.3 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน ปวช.พาณิชยกรรม 5 กลุ่มวิชา ดังนี้
1.กลุ่มวิชาการขาย 2.กลุ่มวิชาการบัญชี 3.กลุ่มวิชาการเลขานุการ
4.กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ 5.กลุ่มวิชาธุรกิจโรงแรม
ปีการศึกษา 2545 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตร ปวช. ของกรมอาชีวศึกษา เพิ่มอีก 1 กลุ่มวิชา คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจบริการ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2538 เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) เปลี่ยนชื่อเรียกสาขา ดังนี้
1. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาพณิชยการ 5 สาขางาน ดังนี้
1.สาขางานการบัญชี 2.สาขางานการขาย 3.สาขางานการเลขานุการ
4.สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 5.สาขางานภาษาต่างประเทศ
ปีการศึกษา 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2538 เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) เปลี่ยนชื่อเรียกสาขา ดังนี้
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว,สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว 2 สาขางาน ดังนี้
1.สาขางานการโรงแรม 2.สาขางานการท่องเที่ยว
ปีการศึกษา 2549 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับ ปวส.เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขาวิชา ประเภท วิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์ จำนวน 2 สาขางาน ดังนี้
ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับ ปวส.เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขาวิชา ประเภท
1.สาขางานการจัดการการขนส่ง 2.สาขางานการจัดกการการคลังสินค้า
ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตร เรียนระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทบริหารธุรกิจ และประเภทอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดังนี้
1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
2. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ
ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรียนระบบทวิภาคี
1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์(ทวิภาคี)
ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรียนระบบทวิภาคี
1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาการบัญชี(ทวิภาคี)
ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรียนระบบทวิภาคี
1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ทวิภาคี)
ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้ เปิดเพิ่ม หลักสูตรประกาศนียบัติวิชาชีพ(ปวช.) พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก, สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านอาหารและภัตตตาคาร จัดการเรียนการสอน ระบบทวิภาคี
1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านอาหารและภัตตาคาร(ทวิภาคี)
ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ(พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศีกษา) โดยใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 ดังนี้
1. ประเภทบริหารธุรกิจ 3 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาการตลาด(ทวิภาคี) 2.สาขาวิชาการบัญชี(ทวิภาคี) 3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ทวิภาคี)
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ระบบปกติ 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาการโรงแรม(ทวิภาคี)
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระบบทวิภาคี 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก(ทวิภาคี)
เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 จัดการเรียนการสอน ระบบทวิภาคี รอบเข้าและรอบบ่าย
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
1.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ 1.1 สาขางานการจัดการคลังสินค้า 1.2 สาขางานตัวแทนออกของ
ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบปกติและระบบทวิภาคี พุทธศักราช 2563 โดยสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
1.สาขาวิชาการบัญชี 2.สาขาวิชาการตลาด 3.สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
4.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก 5.สาขาการจัดการ 6.สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
1.สาขาวิชาการโรงแรม 2.สาขาวิชาการท่องเที่ยว
ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร ระดับ ปวช. ดังนี้ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระบบปกติและระบบทวิภาคี
สาขาวิชาโลจิสติกส์
1.สาขางานโลจิสติกส์
ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบบปกติ
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เว็บ และอุปกรณ์เคลื่อนที่
ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เรียนระบบปกติ และ เรียนระบบทวิภาคี ดังนี้
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เรียนหลักสูตรพุทธศักราช 2562
ประเภทวิชา/สาขาวิชา ระบบปกติ ระบบทวิภาคี
1.พาณิชยกรรม
การตลาด         √         –
การบัญชี         √         √
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ         √         –
    โลจิสติกส์         √         √
    ธุรกิจค้าปลีก         –         √
2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    การโรงแรม         √         –
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  เทคโนโลยีสารสนเทศ         √         –
ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เรียนระบบปกติ และ เรียนระบบทวิภาคี ดังนี้
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เรียนหลักสูตรพุทธศักราช 2563
ประเภทวิชา/สาขาวิชา ระบบปกติ ระบบทวิภาคี
1.บริหารธุรกิจ
    การตลาด         √         √
    การบัญชี         √         √
    การจัดการ         √         √
    การจัดการโลจิสติกส์         √         √
    การจัดการธุรกิจค้าปลีก         –         √
   เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล         √         √
2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    การโรงแรม         √         √
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร         √       √
ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยเปิดทำการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช2562 และประกาศนียบัตรวิขาขีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 เรียนระบบปกติและเรียนระบบทวีภาคี ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบปกติและระบบทวิภาคี พุทธศักราช 2563 โดยสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
1.สาขาวิชาการบัญชี 2.สาขาวิชาการตลาด 3.สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
4.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก 5.สาขาการจัดการ 6.สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
1.สาขาวิชาการโรงแรม 2.สาขาวิชาการท่องเที่ยว
ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร ระดับ ปวช. ดังนี้ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระบบปกติและระบบทวิภาคี
สาขาวิชาโลจิสติกส์
1.สาขางานโลจิสติกส์
ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบบปกติ
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เว็บ และอุปกรณ์เคลื่อนที่
ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เรียนระบบปกติ และ เรียนระบบทวิภาคี ดังนี้
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เรียนหลักสูตรพุทธศักราช 2562
ประเภทวิชา/สาขาวิชา ระบบปกติ ระบบทวิภาคี
1.พาณิชยกรรม
การตลาด         √         –
การบัญชี         √         √
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ         √         –
    โลจิสติกส์         √         √
    ธุรกิจค้าปลีก         –         √
2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    การโรงแรม         √         –
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  เทคโนโลยีสารสนเทศ         √         –
seers cmp badge